Card X - ซื้อขายบิทคอยน์.com https://ซื้อขายบิทคอยน์.com Thu, 23 Sep 2021 05:49:19 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.9.9 https://ซื้อขายบิทคอยน์.com/wp-content/uploads/2021/08/cropped-Bitcoin-BTC-icon-32x32.png Card X - ซื้อขายบิทคอยน์.com https://ซื้อขายบิทคอยน์.com 32 32 SCBX เมื่อ SCB ไม่เป็นแค่ธนาคาร! เปลี่ยนสู่ Tech Company หนี Disruption อีก 5 ปี มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท https://ซื้อขายบิทคอยน์.com/scbx-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-scb-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b9%88-tech-company-%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5-disruption/ Thu, 23 Sep 2021 04:59:18 +0000 https://ซื้อขายบิทคอยน์.com/?p=1667 เมื่อธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB จะไม่เป็นเพียงแค่ธนาคารแบบเดิมอีกต่อไป! ตั้งบริษัทแม่ SCBX เปลี่ยนสู่บริษัท Tech Company หนี Disruption อีก 5 ปี มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท

The post SCBX เมื่อ SCB ไม่เป็นแค่ธนาคาร! เปลี่ยนสู่ Tech Company หนี Disruption อีก 5 ปี มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท appeared first on ซื้อขายบิทคอยน์.com.

]]>
SCBX Tech Company

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก่อตั้งขึ้นในปี 2449 เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกอายุ 115 ปี จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2519 ได้ประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ จัดตั้งบริษัทแม่ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แทน เพื่อทำธุรกิจเป็นบริษัทลงทุน (Holding Company) ปลดล็อกข้อจำกัดจากธุรกิจธนาคาร สู่ความเป็น Tech Company วางเป้าหมาย 5 ปี ขึ้นชั้นบริษัทระดับภูมิภาค มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) แตะ 1 ล้านล้านบาท

การปรับโครงสร้างธุรกิจ SCB สู่บริษัทโฮลดิ้ง SCBX ดังนี้

1.ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจตั้งบริษัทโฮลดิ้ง SCBX

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 บอร์ด SCB ได้มีมติเห็นชอบให้จัดประชุมผู้ถือหุ้นวาระพิเศษในเดือนพฤศจิกายน 2564 เพื่อขอความเห็นชอบในประเด็นดังต่อไปนี้

  • จัดตั้งบริษัทใหม่เป็นบริษัทแม่ในชื่อ SCBX เป็นบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารเท่านั้น แต่เป็นบริษัทลงทุน (Holding Company) มีบทบาทเป็น Tech Company
  • ขอมติผู้ถือหุ้น SCB ในการแลกหุ้น (Share Swap) เพื่อให้ผู้ถือหุ้น SCB ไปเป็นผู้ถือหุ้น SCBX แทน โดยออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน เพื่อแลกเปลี่ยนกับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารในอัตรา 1 หุ้นสามัญ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญ SCBX และ 1 หุ้นบุริมสิทธิ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญ SCBX การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2565
  • จากนั้นจะนำ SCBX ไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเพิกถอนหุ้น SCB ออกจากตลาด
  • SCBX จะกลายเป็นผู้ถือหุ้น SCB แทน สัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ Share Swap
  • นอกจากนี้บอร์ดมีมติให้เสนอผู้ถือหุ้น SCB เพื่ออนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 70,000 ล้านบาท โดยสัดส่วน 70% จะใช้ในการทำเรื่องการโอนธุรกิจ จัดตั้งบริษัทใหม่ และการลงทุนใหม่ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจการและการเติบโตในอนาคต ส่วนอีก 30% ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเก็บไว้จ่ายเงินปันผลในรอบปี 2565

2.เหตุผลปรับโครงสร้างจากธนาคารสู่ Tech Company หนี Disruption

  • ช่วง 5 ปีที่ผ่าน SCB ได้ทำโปรเจกต์ Transformation มาต่อเนื่อง เพื่อทำให้ SCB Group ยังเติบโตและแข่งขันได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน แต่พบว่าการทรานส์ฟอร์มหลายเรื่องโดยที่ทุกอย่างอยู่ภายใต้โครงสร้างธนาคาร SCB มีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถทำธุรกิจได้เต็มที่ (เช่น การทำ Robinhood แพลตฟอร์ม Food Delivery เป็นการลงทุนของบริษัทลูกแทน)
  • รูปแบบธุรกรรมทางการเงินเปลี่ยนไปจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์รูปแบบเดิม (Universal Banking) มีข้อจำกัดในการแข่งขันกับธุรกิจการเงินในโลกดิจิทัล
  • สามารถบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และผลกระทบจากการลงทุนใหม่ให้อยู่กับ SCBX โดยไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจธนาคาร ที่อยู่ภายใต้การกำกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ SCBX เน้นการเติบโตโดยแบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ว่าสิ่งที่กำลังผลักดันการเติบโตจะไปกระทบต่อฐานทุนของธนาคาร
  • เพิ่มความคล่องตัวในการขยายธุรกิจการเงินอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
  • เห็นโอกาสและศักยภาพการเติบโตของธุรกิจหลายด้าน ทั้งภายในและภายนอกธนาคาร จึงจัดตั้ง SCBX เป็นบริษัทโฮลดิ้ง มีบทบาทกำหนดนโยบาย กำกับดูแล บริหารจัดการกลุ่มธุรกิจการเงิน และการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ
  • การปรับโครงสร้างเป็นบริษัทโฮลดิ้ง จะทำให้ธุรกิจธนาคารเดินไปได้ โดยทำให้แบงก์มีโครงสร้างกระบวนการทำงานกระชับ เน้นเรื่องประสิทธิภาพ ดูแลต้นทุนและสร้างผลกำไร การก้าวไปในทิศทางนี้จะทำให้ผลกระทบจาก Disruption ในธุรกิจแบงก์มีน้อยและอยู่รอดต่อไปได้
ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB เปลี่ยนเป็น SCBX

3.จัดทัพ 2 กลุ่มธุรกิจ Cash Cow และ New Growth

ภายใต้โครงสร้างใหม่ SCBX แบ่งธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่ม

3.1 Cash Cow

คือ ธุรกิจธนาคาร SCB ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ SCBX เป็นกลุ่มสร้างผลกำไรที่ดีและสนับสนุนเงินทุนให้ SCBX ลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ต่อไป รวมทั้งธุรกิจการเงินอื่นๆ อย่าง ธนาคารในกัมพูชา, เมียนมา, บริษัทบริหารสินทรัพย์ รัชโยธิน, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBAM), SCB Protect , ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์, ไทยพาณิชย์พลัส

3.2 New Growth

คือ กลุ่มธุรกิจแฟลกชิปผลักดันการเติบโต เพิ่มมูลค่าธุรกิจที่เข้าไปลงทุนด้าน Digital Asset และ Digital Platforms ดังต่อไปนี้

กลุ่ม Consumer Finance และ Digital Financial

  • บริษัทออโต้ เอกซ์ (Auto X)
  • บริษัทคาร์ด เอกซ์ (Card X)
  • บริษัทบริหารสินทรัพย์ คาร์ด เอกซ์ (Card X AMC)
  • บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ (SCB Securities)

กลุ่ม Digital Platforms และ Technology Services

  • บริษัทเพอร์เพิล เวนเจอร์ส (Purple Ventures)
  • บริษัท เอสซีบี เทคเอกซ์ (SCB Tech X)
  • บริษัทดิจิทัล เวนเจอร์ส (Digital Ventures)
  • บริษัทโทเคน เอกซ์ (Token X)
  • บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X)
  • บริษัท เอสซีบี อบาคัส (SCB Abacus)
  • บริษัท มันนิกซ์ (Monix)
  • บริษัท เอไอเอสซีบี (AISCB) บริษัทร่วมทุน AIS
  • SCB-CP บริษัทร่วมทุนเครือซีพี
SCBX บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด มหาชน

4.โอนธุรกิจ SCB แตกบริษัทลูก จับมือพันธมิตรตั้งบริษัทใหม่

  • หากดูโครงสร้างธุรกิจในกลุ่ม New Growth ส่วนหนึ่งจะมาจากการโอนธุรกิจที่อยู่กับ SCB แตกเป็นบริษัทลูก เช่น Card X รับโอนธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล Auto X ธุรกิจสินเชื่อรถ ลิสซิ่ง
  • กลุ่มธุรกิจเดิมที่ SCB ถือหุ้นอยู่แล้วด้าน Digital Asset ผ่านบริษัท SCB 10X ธุรกิจแพลตฟอร์ม Food Delivery ผ่านบริษัท Purple Ventures ธุรกิจหลักทรัพย์ ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลผ่าน SCB security ซึ่งเป็นเรือธงในกลุ่มธุรกิจสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
  • การลงทุนร่วมกับพาร์ทเนอร์ AIS จัดตั้ง AISCB เพื่อให้บริการด้านการเงินดิจิทัล เช่น บริการด้านสินเชื่อ (digital lending) และบริการทางการเงินอื่นๆ
  • ร่วมทุนกับ MGC Group ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ จัดตั้ง Alpha X บริการธุรกิจให้เช่าซื้อ ลีสซิ่ง และให้สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ (Big Bike) เรือยอชต์ และ River Boat
  • ร่วมทุนเครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีบล็อกเชน Decentralized Finance ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกิดใหม่อื่นๆ
  • รูปแบบการลงทุนของ SCBX จะขยายเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset business) ในระดับโลกเพื่อเข้าสู่โลกการเงินแห่งอนาคตผ่าน SCB 10X และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) โดยการร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตรกองทุนระดับโลก และการพัฒนาธุรกิจ digital asset ด้านต่างๆ

5.วางเป้าหมายเข็น 15 บริษัทในเครือเข้าตลาดหลักทรัพย์ใน 3-5 ปี


การปรับโครงสร้างแตกธุรกิจเป็นบริษัทลูกโดยโอนธุรกิจมาจาก SCB รวมทั้งการร่วมทุน (JV) กับพาร์ทเนอร์ เริ่มต้นที่ 15 บริษัท (ในแผนธุรกิจจะมีการเปิดบริษัทเพิ่มขึ้นอีกหลายบริษัท) สำหรับบริษัทลูกในกลุ่มแรกนี้ ทุกบริษัทจะขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้แนวทางที่ SCBX วางโครงสร้างไว้ มี CEO บริหารทุกบริษัท ทุกคนทำหน้าที่เป็น “เถ้าแก่น้อย” ในการนำทุกบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป

“จุดหมาย (destination) ของทุกบริษัทลูก SCBX จะขยายกิจการและเดินทางไปสู่ทิศทางการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในช่วง 3-5 ปีจากนี้”

SCBX Fin Tech

6.SCBX กับเป้าหมาย Regional Player

  • ทิศทางของ SCBX ไม่ได้จำกัดตัวเองเป็นเพียงธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป แต่ได้แปลงสภาพสู่ Tech Company ขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการ สร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงการบริหารจัดการแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี (Technology Platform) ขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก
  • การขยายธุรกิจในกลุ่มการเงินและ New Growth จึงลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มุ่งเติบโตในระดับภูมิภาค (Regional) โฟกัส 3 ตลาด คือ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
  • การลงทุนด้านแพลตฟอร์ม จะขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาค (regional player) เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ จากประสบการณ์ลงทุนแพลตฟอร์ม Food Delivery Robinhood เห็นได้ชัดว่า Network Effect เป็นสิ่งที่สร้างพลังในธุรกิจนี้แบบ Winner take all ดังนั้นการเป็นเพียง Local Player จึงไม่สามารถแข่งขันได้ในระยะยาวได้อีกต่อไป

7.สร้างฐานลูกค้า 200 ล้านคน Market Cap แตะ 1 ล้านล้านบาท

บทสรุปของ คุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ย้ำว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้ มีเป้าหมายอีก 5 ปี ทุกธุรกิจของ SCBX จะเป็นบริษัทระดับภูมิภาค สร้างฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ได้ 200 ล้านคน จากปัจจุบันมีจำนวน 16 ล้านคน เพิ่มอัตราการทำกำไรอีก 1.5-2 เท่า และ Market Cap แตะ 1 ล้านล้านบาท (ปัจจุบันมูลค่าอยู่ที่ 371,821 ล้านบาท)

หลังจากนี้ SCB จะไม่เท่ากับธนาคารอีกต่อไป แต่ SCBX จะกลายเป็นกลุ่มบริษัทที่มีธุรกิจการเงินและแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีหลากหลาย เป็นบริษัทไทยที่ก้าวสู่ International Player แข่งขันกับคู่แข่งในระดับโลกได้

แชร์หน้านี้ : https://bit.ly/3EIMEkj

The post SCBX เมื่อ SCB ไม่เป็นแค่ธนาคาร! เปลี่ยนสู่ Tech Company หนี Disruption อีก 5 ปี มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท appeared first on ซื้อขายบิทคอยน์.com.

]]>